วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ปลาตีน


                 
                             ปลาตีน ( Mudskipper, Amphibious fish) คือ ปลาที่อยู่ในวงศ์ย่อย Oxudercinae ในวงศ์ใหญ่ Gobiidae (วงศ์ปลาบู่) มีทั้งหมด 9 สกุล ประมาณ 38 ชนิด (ดูในตาราง) กระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปตามชายทะเลโคลนและป่าชายเลนในเขตร้อนตั้งแต่เขตมหาสมุทรแอตแลนติก ชายฝั่งแอฟริกาจนถึงเอเชียแปซิฟิก มีความยาวลำตัวแตกต่างออกไปตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร ในชนิด Zappa confluentus จนถึงเกือบหนึ่งฟุต ในชนิด Periophthalmodon schlosseri
ลักษณะพิเศษและพฤติกรรม

                            หัวมีขนาดโต มีตาหนึ่งคู่ตั้งอยู่ส่วนบนสุดของหัวโปนออกมาเห็นได้ชัด ดวงตาสามารถกรอกไปมาได้ จึงใช้มองเห็นได้ดีเมื่อพ้นน้ำ สามารถเคลื่อนที่บนบกได้ โดยใช้ครีบอกที่แข็งแรงไถลตัวไปตามพื้นเลนและสามารถกระโดดได้ด้วย และสามารถใช้ชีวิตอยู่บนบกได้เป็นเวลานานเนื่องจากมีอวัยวะพิเศษอยู่ข้างเหงือกที่สามารถเก็บความชุ่มชื้นได้ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย ตำแหน่งของปากอยู่ปลายสุดของหัวขนานกับพื้น หากินในเวลาน้ำลดโดยกินอาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็กในพื้นเลน ทำให้แลดูผิวเผินเหมือนสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมากกว่าปลา
ปกติปลาตีนจะอาศัยอยู่รวมกันหลายตัวไม่มีออกนอกเขตของตัวเอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาตีนตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้นและมีอาณาเขตของการสืบพันธุ์ โดยจะมีการสร้างหลุมซึ่งมันจะใช้ปากขุดโคลนมากอง บนปากหลุม เรียกว่า หลุมปลาตีน และมีพฤติกรรมหวงเขตแดนเมื่อมีปลาตีนตัวอื่นรุกล้ำ โดยจะแสดงการกางครีบหลังขู่ และเคลื่อนที่เข้าหาผู้รุกล้ำทันที ปลาตีนตัวผู้และตัวเมียจะผสมพันธุ์ในหลุมที่ตัวผู้ขุดไว้
แหล่งที่อยู่ในประเทศไทย


                         อาศัยในป่าชายเลนในประเทศไทยมีกระจายเป็นตอน ๆ ริมฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตั้งแต่จังหวัดชลบุรี, จังหวัดตราด เรื่อยลงไปถึงจังหวัดปัตตานี ส่วนทางฝั่งทะเลอันดามันพบตั้งแต่จังหวัดระนองลงไปสุด ชายแดนไทยที่จังหวัดสตูล สำหรับปลาตีนชนิดที่พบได้ในประเทศไทย ได้แก่ Periophthalmus barbarus, Periophthalmodon schlosseri และ Boleophthalmus boddarti โดยมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันออกไป เช่น จุมพรวด, ตุมพรวด, กำพุด, กระจัง หรือ ไอ้จัง เป็นต้น
ปลาตีนมักถูกจับมาขายเป็นปลาสวยงามอยู่เสมอ ๆ โดยมักหลอกขายว่าเป็นปลาน้ำจืดหรือปลาจากต่างประเทศ โดยผู้ค้ามักตั้งชื่อให้แปลกออกไป เช่น คุณเท้า, เกราะเพชร หรือ โฟร์อายส์ เป็นต้น


                         ถิ่นอาศัย พบแพรกระจายอยู่ในทะเลจีนใต้ ( ฝั่งอ่าวไทย ) และ บริเวณชายฝั่งอ่าวเบงกอล ( ทะเลอันดามัน )  บทบาทความสำคัญ:  ลักษณะสัณฐานวิทยา คล้ายปลามีปอด ที่พบในทวีปอัฟริกา สามารถใช้ครีบในการลื่นไถล และกระโดดไปบนพื้นเลน หรือตามผิวหน้าของพื้นน้ำได้ไกล การใช้ครีบคู่หน้า หรือครีบบริเวณอกที่แข็งแรง สามารถคืบไปบนผิวแลนได้ดี ครีบอกนี้ยังใช้ยึดเกาะกับต้นโกงกาง หรือต้นแสมได้อีกด้วย พฤติกรรมการบิดงอโคนหางแล้วดีดออกเหมือนสปริงที่ทำให้เคลื่อนไหวไปข้างหน้า โดยการไถลบนผิวเลน มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 530 ซม. ต่างกันไปตามชนิด ปลาตีนตัวผู้จะมีขนาดลำตัวใหญ่กว่าปลาตีนตัวเมีย ข้างลำตัวแบนเล็กน้อย มีเกล็ดปกคลุมทั่วลำตัว สีเทามีแถบสีน้ำตาลพาดบริเวณหัว และตามตัวมีจุดวาว ๆ สีเขียวมรกต ปลายครีบหลัง สีขาวเหลือง สะท้อนแสง ทำให้มองเห็นเป็นทั้งสีน้ำตาล สีน้ำเงิน และวาวเหมือนมุก นิสัยของปลาตีน ชอบอาศัยและหากินตามดินเลนมักเป็นช่วงเวลาน้ำลงมากกว่าช่วงอื่น และมักพบอาศัยอยู่บริเวณดินโคลนในป่าชายเลน หาดเลนที่เปิดโล่ง ริมร่องน้ำที่อยู่ตามขอบนอกของป่าชายเลน มีการปรับตัวจนมีลักษณะสัณฐานต่างจากปลาอื่น คือ ชอบอาศัยบนผิวเลนมากกว่าการดำมุดอยู่ใต้น้ำ กระพุ้งแก้มที่ปิดเหงือกจะโป่งออกเพื่อให้อุ้มน้ำได้ดี เหมาะแก่การหายใจขณะอาศัยอยู่บนผิวเลน มีลักษณะเด่นอีกอย่างคือ ลูกตาที่โป่งนูนอยู่บนหัวทำให้มองเห็นเด่นชัด  อาหารที่ปลาตีนกิน จะเป็นสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปู ตัวอ่อนของสัตว์น้ำขนาดเล็ก รวมทั้งสาหร่าย แบคทีเรีย และ ซากสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนผิวเลน ปกติปลาตีนจะอาศัยอยู่รวมกันหลายตัวไม่มีการออกนอกเขตของตัวเอง เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ ปลาตีนตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้น และมีการแบ่งอาณาเขตในช่วงการสืบพันธุ์ โดยจะมีการสร้างหลุมซึ่งจะใช้ปากขุดโคลนมากองบนปากหลุม เราเรียกว่า  หลุมปลาตีนปลาตีนตัวผู้ มีพฤติกรรมหวงเขตแดน เมื่อมีปลาตีนตัวผู้อื่นล้ำแดนเข้ามาจะกางครีบหลังขู่ และ เคลื่อนที่เข้าหาผู้รุกล้ำทันที ปลาตีนตัวผู้ และตัวเมีย จะผสมพันธุ์ในหลุมที่ตัวผู้ขุดไว้


                        ปลาตีน เป็นปลากระดูกแข็งขนาดลำตัวยาว 5-30 ซ.ม. มีครีบคู่หน้า ครีบอกที่แข็งแรงใช้ครีบอกที่แข็งแรงใช้ครีบกระโดดไปมาบนพื้นเลน และคลานขึ้นต้นไม้ ยึดเกาะกับต้นโกงกาง หรือแสม ปลาตีนเพศผู้มีขนาดลำตัวแบนเล็กน้อย มีเกล็ดปกคลุมทั่วลำตัว มีสีเทาแถบสีน้ำตาลพาด บริเวณหัวและตามตัวมีจุดวาวสีเขียวมรกต ปลายครีบหลังสีขาว สีน้ำตาล สีน้ำเงิน วาวเหมือนมุก ส่วนเพศเมียสีลำตัวค่อนข้างเหลือง เมื่ออยู่บนบก จะหายใจผ่านผิวหนังและช่องเหงือก อาหารที่กินเป็นลูกกุ้ง ลูกปู ตัวอ่อน ของสัตว์น้ำขนาดเล็ก สาหร่าย และซากพืชและสัตว์บนผิวเลน ฤดูผสมพันธุ์ ปลาตีนตัวผู้จะมีสีเข้มขึ้น จะใช้ปากขุดโคลนสร้าง หลุมปลาตีนไว้เป็นที่ผสมพันธุ์ และมีพฤติกรรมหวงเขตแดนเมื่อมีตัวผู้อื่นเข้ามารุกล้ำจะกางครีบหลังขู่และเคลื่อนที่เข้าหาผู้บุกรุกทันที


                 เวลาน้ำขึ้นปลาตีนมักไต่ขึ้นไปบนต้นไม้ในป่าชายเลน ใช้ครีบอกที่แข็งแรงเหนี่ยวขึ้นไป ส่วนอวัยวะดูดที่หน้าอกก็ใช้ยึดเกาะกับต้นไม้ได้ ชื่อสามัญภาษาอังกฤษของปลาตีน (Mudskipper) แปลว่า นักกระโดดเลน คงเนื่องมาจากปลาตีนชอบกระโดดไปบนเลนหรือบนผิวน้ำ ในฤดูผสมพันธุ์ ปลาตีนตัวผู้ชอบกระโดดสูงอวดตัวเมีย บางทีกระโดได้สูงถึง ๒๐ เซ็นติเมตร วิธีกระโดสูงก็บิดม้วนตัวไปข้างๆแล้วยืดตัวออกฉับพลัน ตัวจึงถูกดีดขึ้นสูง ถ้ามีตัวเมียสนใจการแสดง ตัวผู้ก็จะพาไปที่โพรงในเลนที่ขุดเตรียมเอาไว้ โพรงนั้นมีน้ำเต็ม ทั้งคู่อยู่ภายในรังเมื่อออกไข่และไข่ฟักเป็นตัวอ่อนแล้วต่อมาตัวอ่อนจะเปลี่ยนรูปเป็นปลาเหมือนพ่อแม่อย่างสมบูรณ์  ปลาตีนตัวผู้ปกป้องรักษาโพรงอย่างเข้มงวด ศัตรูของปลาตีนอาจเป็นปู หรือแม่แต่ปลาตีนตัวผู้ด้วยกันอาจต่อสู้ถึงขั้นรุนแรงกัดติดไม่ปล่อย แล้วยังมีงูน้ำซึ่งบุกรุกถึงโพรงในเลน และนกกระยางที่โฉบจิกกินปลาตีนบนชายเลน  ท่านผู้รู้บอกว่าที่เราเรียกว่าปลาตีนนั้นมีอยู่ ๒ วงศ์  (family)  อย่างที่เล่ามาข้างต้นอยู่ในวงศ์เพอริโอทาลมิดี (Periophthalmidae) อีกพวกหนึ่งอยู่ในวงศ์เบลนนิอิดี (Bleniidae) เป็นปลาเล็กและว่องไว สีสวยงาม อาศัยอยู่ตามชายทะเล ลำตัวมีหลายขนาดแล้วแต่สกุลและชนิด แม้แต่รูปร่างก็ต่างกัน บางชนิดตัวยาว ครีบหลังยาว จะมีครีบอกอยู่ใกล้คอ บางชนิดอยู่นอกน้ำได้เป็นเวลานานโดยเกาะอยู่ตามหิน เท่าที่ทราบมีพวกเบลนนิอิดีอยู่ในเมืองไทย ๔ สกุล รวม ๑๐ ชนิด ชนิดหนื่งเรียกว่าปลาตีนสยาม  



                  เราเรียกมันว่าปลาตีน เพราะปลาพวกนี้เหมือนมีตีน ๒ ตีนเดินไปบนเลนเวลาน้ำลง พบในเขตน้ำกร่อยของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แปซิฟิกตอนใต้ ออสเตรเลีย อินเดีย และแอฟริกาใต้ ตามหาดและชายน้ำที่เป็นโคลนเลน ในอ่าว ปากแม่น้ำ แม่น้ำ คลอง พบทวนน้ำขึ้นไปจนกระทั่งน้ำจืดก็มีปลาตีนมีมากมายหลายชนิด อยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก เป็นปลานาดเล็ก ตัวยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ตาทั้งคู่โปนขึ้นมาใกล้ๆกันเหนือหัว มองวัวได้กว้าง ช่วยให้มองเห็นศัตรูและเหยื่อได้ง่าย ปลาตีนสามารถหมุนดวงตาลงมาด้านล่างเพื่อให้ดวงตาสัมผัสของเหลวในกระบอกตา ทำให้ตาชื้นอยู่เสมอเวลาอยู่บนบก



                     ปลาตีนเป็นปลาที่น่าสนใจ มีความสามารถและลักษณะพิเศษต่างจากปลาอื่นๆหลายอย่าง ที่สำคัญคืออยู่บนบกได้นานมาก เวลาอยู่ในน้ำก็หายใจผ่านเหลือกตามวิธีเหมือนปลาอื่นๆโดยใช้ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ตามธรรมดาปลาอยุ่บนบกไม่ได้เพราะแผ่นเหงือกจะแห้งก็เลยหายใจไม่ออก แต่สำหรับปลาตีนตอนจะขึ้นมาเหนือน้ำ ปลาตีนทำให้ให้ช่องเหงือกพองขยายอมน้ำและอากาศไว้ วิธีนี้ช่องเหงือกก็จะเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา อยู่เหนือน้ำได้นานเป็นชั่วโมง เสียอย่างเดียวเมื่อหาอาหารได้เช่นหอยตัวเล็กๆเวลากลืนอาหาร น้ำและอากาศในช่องเหงือกก็จะถูกบีบไหลออกไป ปลาตีนต้องรีบลงไปในน้ำเพื่อเติมน้ำและอากาศเก็บไว้ในช่องเหงือกอีก   สิ่งที่คนสนใจเฝ้าดูปลาตีนอย่างหนึ่งก็คือ การเดินอย่างรวดเร็วไปบนเลน ตีนของมัน คือ ครีบอกซึ่งหนาและมีกล้ามเนื้อแข็งแรง ลักษณะคล้ายขา ใช้พยุงตัวได้ ปลาตีนเดินบนเลนโดยวิธียื่นตีนหรือครีบอกออกไปข้างหน้าแล้วลากตัวตามไป ปลาตีนบางชนิดมีอวัยวะดูดเป็นรูปกลมที่หน้าอก สำหรับยึดเกาะติดกับก้อนหินและต้นไม้









1 ความคิดเห็น:

  1. How to use a casino site - Lucky Club
    Bet on the outcome of a soccer match with an odds of -150 or better (the more you can bet on the result of a soccer match, luckyclub the better the

    ตอบลบ